วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ปฏิทินการทำนาจากปราชญ์ทุ่งกุลาร้องไห้

ปฏิทินการทำนาจากปราชญ์ทุ่งกุลาร้องไห้

การทำนาแบบดั้งเดิมของคุณช่วย สาสุข หมอดินอาสาประจำตำบลหินกอง ภายในเขตทุ่งกุลาร้องให้เป็นหนึ่งในแบบอย่างเกษตรกรที่ทำนาอินทรีย์ในรูปแบบดั้งเดิมที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนทั่วไปในลักษณะของการปลูกข้าวพื้นบ้านดั้งเดิมจนได้รับการรับรองมาตรฐานการส่งออกไปยังต่างประเทศในกลุ่มเครือข่ายข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก

 การทำนาแบบดั้งเดิมของคุณช่วย สาสุข หมอดินอาสาประจำตำบลหินกอง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตทุ่งกุลาร้องให้ เป็นหนึ่งในแบบอย่างเกษตรกรที่ทำนาอินทรีย์ในรูปแบบดั้งเดิมที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนทั่วไปในลักษณะของการปลูกข้าวพื้นบ้านดั้งเดิมจนได้รับการรับรองมาตรฐานการส่งออกไปยังต่างประเทศในกลุ่มเครือข่ายข้าวอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก 
   การทำนาอินทรีย์ในรูปแบบของคุณช่วย จะใช้ทั้งภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ในอดีตมาปับปรุงเทคนิคต่างๆร่วมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามามีส่วนร่วมจนผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดในราคาต้นทุนที่ต่ำ ดังนี้...
ขยายพันธุ์ข้าว
 ขยายพันธุ์ข้าวในแปลงนา
ขยายพันธุ์ข้าวในกระถาง
 การขยายพันธุ์ข้าวในกระถาง 10 ชั่วอายุ เพื่อให้พันธุ์ข้าวนิ่งป้องกันการกลายพันธุ์
 ++ปฏิทินแผนการทำนา++
-เดือนธันวาคม-มกราคม : นำปุ๋ยหมักแห้ง 100กิโลกรัม/ไร่ หว่านลงในแปลงนาภายหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เหลือตอซังข้าวไว้ หรือนำปุ๋ยหมักแห้งไปขยาย 24ชั่วโมงในอัตรา 100กิโลกรัม/ไร่ หว่านลงในแปลงแล้วทำการไถกลบ
-เดือนเมษายน-พฤษภาคม : หว่านปุ๋ยหมักแห้งหลังจากฝนตกครั้งแรกในอัตรา 150กิโลกรัมไร่ (ในกรณีที่ไม่สามารถหว่านตามกำหนดเวลาในช่วงแรกได้)
- เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม : ขยายน้ำหมักชีวภาพนำไปฉีดพ่นใส่ต้นหญ้าแล้วทำการไถกลบ (น้ำหมักชีวภาพ 2ช้อนโต๊ะ + กากน้ำตาล 2ช้อนโต๊ะ + น้ำ 1ปี๊บ)
- เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม :  ทำการไถ-คราดดิน-ปักดำ 
-เดือนกันยายน-ตุลาคม : ขยายน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นอีกครั้ง ห่างจากช่วงแรก 30วัน
- เดือนพฤศจิกายน :  เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตและเตรียมจัดทำปุ๋ยหมักแห้งไว้ใช้ในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป 
การเตรียมดินก่อนทำนา

++ขั้นตอนการเตรียมดินก่อนการทำนา++
1.หว่านปุ๋ยหมักแห้งลงในนาภายหลังจากการเก็บเกี่ยว
2.เดือนธันวาคม-มกราคม ใช้ปุ๋ยหมักแห้งในอัตรา 100กิโลกรัม/ไร่ แล้วทำการไถกลบ
3.ถ้าไม่ได้หว่านในช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยว ให้มาหว่านในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ในอัตรา 150กิโลกรัม/ไร่
4.เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ขยายน้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นใส่หญ้าแล้วไถกลบโดยใช้น้ำ 4ปี๊บ/ไร่ (ใช้น้ำหมักชีวภาพปี๊บละ 2ช้อนโต๊ะและกากน้ำตาลปี๊บละ 2ช้อนโต๊ะ)
เมล็ดพันธุ์ข้าว
  เมล็ดพันธ์ข้าวพื้นบ้าน
  ++การเตรียมต้นกล้าสำหรับปลูก++
 1.แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวอัตรา 20กิโลกรัม/ไร่ ในน้ำหมักชีวภาพ (โดยใช้น้ำ 1ปี๊บ เติมน้ำหมักชีวภาพ 2ช้อนโต๊ะและกากน้ำตาล 2ช้อนโต๊ะ) แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวนาน 30นาที
2.นำพันธุ์ข้าวไปหว่านในแปลงที่เตรียมเพาะกล้า เมื่อครบอายุ 5วัน ให้หว่านปุ๋ยหมักแห้ง 20กิโลกรัม/ไร่
3.ขยายน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นโดยใช้น้ำ 4ปี๊บ (ใช้น้ำหมักชีวภาพ 2ช้อนโต๊ะและกากน้ำตาล 2ช้อนโต๊ะ)
4.เมื่อต้นกล้าอายุได้ 20วัน หว่านปุ๋ยหมักแห้ง 20กิโลกรัม/ไร่ ขยายน้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นตามอัตราส่วนในข้อ 3เพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงและถอนง่าย
5.ดูแลระดับน้ำให้สูงขึ้นตามอายุของต้นกล้า คือ 3-4-8เซนติเมตร เมื่อครบ 20-25วัน เริ่มถอนกล้าไปปักดำได้
1ข้าวออกรวง
 ข้าวออกรวงในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม
ข้าวอินทรีย์ 
 ทำนาแบบอินทรีย์โรค-แมลงจะไม่รบกวนเนื่องจากข้าวมีความต้านทานโรคแมลงสูง
ระยะพลับพลึง
 ข้าวพร้อมเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
ชื่อ - นามสกุล : คุณการปลูกพืช อายุ : 63 ปี
ที่อยู่ :  14 หมู่ที่12 ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ขอบคุณ: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=2323&s=tblblog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น