วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำนาแบบไม่ไถ

การทำนาแบบไม่ไถสูตรอินผ่อง แก้วดำ
                  ใน ปัจจุบันนี้การทำนาของพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่จะเน้นที่การได้ผลผลิตสูงเป็น สำคัญ ดังนั้นก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิต โดยไม่ได้คำนึงถึง ต้นทุน จนบางครั้งเมื่อมีการคำนวณดูแล้วไม่มีกำไรเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับพ่อ อินผ่อง แก้วดำ เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านแซว อ.เชียง แสน จ.เชียงราย ที่เน้นการลงทุนน้อยๆ เพื่อให้ได้กำไรมาก  ไม่ว่าจะเป็นการ ปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และที่น่าสนใจเป็นอย่างมากก็คือการทำนาแบบไม่ ไถ ซึ่งโดยทั่วไปการทำนาในแต่ละครั้งเกษตรต้องเตรียมแปลงปลูกด้วยการไถดะคือ การไถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงทำการไถแปร คือการไถตัดกับรอยไถดะ เสร็จแล้วทำการคราด จากนั้นนำต้นกล้าลงปลูกหรือปัก ดำ ซึ่งจะต่างกับวิธีทำนาของพ่ออินผ่องที่มีการทดลองทำมาแล้ว 3-4 ปี ซึ่งก็ ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำนาในพื้นที่ 6ไร่ นับว่าได้ผลผลิตไม่ แพ้การทำนาแบบไถเลยทีเดียว ผลผลิตโดยเฉลี่ย 460-470 ถังต่อปี ได้ผลผลิตดี อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนในการไถและการใส่ปุ๋ยอีกด้วย เกษตรกรที่อยากจะทดลอง การทำนาแบบไม่ไถจะต้องมีสภาพพื้นที่เหมาะสมโดยพื้นที่นั้นๆจะต้องมีระดับ ความสูงไล่ลงมาเป็นลำดับดังนี้
1. บ่อน้ำขนาดใหญ่กับเก็บน้ำได้ในฤดูทำนา
2. พื้นที่นา
3. คลองระบายน้ำออกจากที่นา



วิธีการเตรียมพื้นที่และการปลูกมีดังนี้
- ปล่อยน้ำบ่อลงสู่พื้นที่นา โดยการต่อท่อจากบ่อเข้าไปในที่นา
- นำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย 40 ลิตรต่อที่นา 6 ไร่ใส่ลงในถังเจาะให้เป็นรูเล็กๆ เพื่อให้น้ำหมักหยดลง ในที่นาผสมกับน้ำในนาข้าว
- หลังจากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จะสังเกตได้ว่าซังข้าวและวัชพืชที่อยู่ในนาข้าวจะเน่าย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ทำดินก็จะร่วนซุย
- จากนั้นก็นำต้นกล้าลงปลูกได้อย่างง่ายดาย
- รอเก็บผลผลิต โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนในการใส่ปุ๋ย เพราะในที่นามีปุ๋ยที่จุลินทรีย์หน่อกล้วย ได้ไปทำการย่อยสลายซังข้าว และวัชพืชกลายเป็นธาตุอาหารในดินซึ่งดีต่อข้าวเป็นอย่างมากทำให้ข้าวเจริญ เติบโตดี ได้ผลผลิตสูง
ที่มาของภูมิปัญญา : นายอินผ่อง แก้วดำ เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านแซว อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

ในปัจจุบันนี้เวลาที่พี่น้องเกษตรกรทำนาส่วนใหญ่จะเน้นที่ผลผลิตสูงๆ เป็นตัวตั้ง ดังนั้นก็จะใส่ทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิต โดยไม่ค่อยได้คำนึงถึงต้นทุนเท่าไหร่ จนบางครั้งบวกลบคูณหารแล้วขาดทุนด้วยซ้ำไป ซึ่งตรงกันข้ามกับของพ่ออินผ่องที่เน้นตรงที่ให้ได้กำไรมากๆ ดังนั้น อาจารย์ก็จะลงทุนให้น้อยที่สุด เพื่อที่จะได้กำไรสูงสุดตามมา

หนึ่งในกระบวนการที่ไม่ไถนี้ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะลดต้นทุนการผลิตลง เพราะตนเองไม่มีรถไถนา ครั้นจะไปจ้างก็ต้องใช้เงิน จึงตัดสินใจที่ไม่จ้างรถไถมาไถนาตนเอง ผมจึงถามว่าแล้วการที่ไม่ไถไม่มีปัญหาต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวเหรอครับ ...ก็ได้รับคำตอบว่าโดยปกติต้นไม้ หรือข้าวที่งอกงามในธรรมชาติใครไปไถและเตรียมดินให้มันล่ะ ...เออประเด็นนี้ก็จริงนะ...แล้วอาจารย์ก็ขยายความต่อครับว่า...การที่ไม่ไถ นั้นจะทำให้โครงสร้างของดินโปร่งและร่วนทรุย (ซุย)ในระยะยาวเพราะมีเศษซากพืช สัตว์ เน่าทับถมกันแล้วทำให้ดินหลวม ตรงกันข้ามกับการไถจะร่วนเฉพาะช่วงเวลาไถหลังจากนั้นก็จะแน่นตามเดิม ฉะนั้นในการทำนาแบบไม่ไถนอกจากจะประหยัดแล้วแถมยังให้ต้นข้าวงอกงามได้อีก

ไม่หว่าน ไม่ดำ...ก็หมายความว่าในพื้นที่แปลงนาของเรามีเมล็ดข้าวล่วงหล่นเต็มพื้นที่ เพียงพอต่อการเจริญเติบโตอยู่แล้ว เพราะว่าในฤดูกาลที่แล้วนั้นได้ใช้รถเกี่ยวนวดข้าว...ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงมีเมล็ดข้าวล่วงหล่นกระจัดกระจายตามพื้นนาซึ่งเพียงพอ และเมื่อเจอความชื้นข้าวก็งอกงามขึ้นมาดังที่เห็นนี่ไง


ตัดหญ้าและข้าวเพื่อให้แตกใหม่
ครับจากแนวทางการทำนาแบบไม่ไถ ไม่ดำ ไม่หว่าน ของท่านอาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน ก็เป็นวิธีการทำนาอีกแบบหนึ่ง... โดยอาจารย์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตเป็นหลัก ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนประกอบอาชีพ แต่อย่างไรก็ตามในการที่เราจะทำอะไร ผลิตอะไร ปลูกอะไรนั้น ก็คงต้องดูรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม อีกทั้งบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนเอง เพื่อนำมาพินิจ วิเคราะห์ ก่อนการตัดสินใจในการที่จะทำ เพื่อความสำเร็จของกิจกรรมที่ดำเนินการ


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร*1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
http://www.kroobannok.com/blog/21481

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น