วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

แก้ปัญหาน้ำไม่ควรลืมหญ้าแฝก - ทิศทางเกษตร




นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีเปิดเผยว่า ที่ประชุมสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 5 ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอผลงานของนักวิชาการจากหลายประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสัมมนาและมีการปลูกแฝก มีข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และหลายด้านเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาส่งเสริมและสนับสนุนให้นำมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นในประเทศไทย
เช่น การปลูกแฝกเพื่อป้องกันดินถล่ม ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ติดถนนที่เป็นการนำวิธีการป้องกันดินถล่มริมทาง โดยร่วมกับทางวิศวกรรม เช่น มีการวางตาข่ายหรือปูกระสอบป่านแล้วปลูกหญ้าแฝกลงไป ซึ่งก็เป็นเทคนิคใหม่ที่ควรจะนำมาใช้ในประเทศไทย บางประเทศมีการปลูกแฝกเพื่อป้องกันน้ำทะเลเซาะชายหาด เช่น ออสเตรเลีย และประเทศทางแถบแอฟริกา ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ เช่น ภาคใต้ของประเทศไทยที่เคยเกิดปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา
“ที่ประเทศอินเดีย ประชาชนรู้จักหญ้าแฝกมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล แต่เขาจะเน้นเรื่องการปลูกแฝกเพื่อทำเครื่องหอม น้ำหอม และเครื่องเทศต่างๆ แต่ตอนหลังประมาณ 200 กว่าปีมานี้เขาก็เริ่มสนใจเรื่องการปลูกแฝกเพื่อการป้องกันดินถล่ม เช่น การป้องกันการชะล้างของหน้าดิน ขณะที่การนำหญ้าแฝกมาทำสมุนไพร ทำน้ำหอม ก็ยังคงทำอยู่ ซึ่งนักวิชาการไทยก็คิดจะนำมาทดลองทำ หรือปลูกในบ้านเราบ้าง” นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวองคมนตรี เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ 5 นี้ มีผู้เข้าร่วมจากนานาชาติประมาณ 300 คน โดยสถาบันสมุนไพรและพืช เป็นเจ้าภาพ ภายใต้หัวข้อ “หญ้าแฝกกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ” ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สนับสนุนการจัดการประชุม พร้อมทั้งเสด็จฯ เปิดการประชุม และพระราชทานรางวัล “The King of Thailand Vetiver Awards 2011” แก่ผู้ชนะเลิศผลงานวิจัยด้านหญ้าแฝกจากประเทศไทย อินเดีย ออสเตรเลีย มาดากัสการ์ เวเนซุเอลา และจีน ภายในงานสัมมนาฯ ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการรณรงค์ปลูกหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำจากนักวิชาการไทยและต่างชาติ รวมทั้งมีการสาธิตและฝึกอบรมการทำหัตถกรรมจากหญ้าแฝกซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้ารับการฝึกอบรมเป็นจำนวนมาก
“ปีนี้ในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการรณรงค์การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ก็จะนำเรื่องหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยอย่างเต็มที่ โดยนำเอาผลสรุปจากการสัมมนาในครั้งนี้ นับตั้งแต่การนำหญ้าแฝกมาช่วยในการป้องกันการพังทลายหน้าดิน การป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเลของคลื่น ไปจนถึง การใช้หญ้าแฝกเป็นแนวกำหนดเส้นทางน้ำ เพื่อการระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก ซึ่งเป็นกำแพงธรรมชาติตาม พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ไขและป้องกันน้ำท่วม และการสกัดน้ำมันหอมจากราก หญ้าแฝกหอม โดยจะร่วมมือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในแต่ละ พื้นที่อย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้าแฝกมากขึ้นต่อไป” นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าว
หญ้าแฝกเป็นพืชพื้นบ้าน พบได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นพืชที่คนไทยรู้จักใช้ประโยชน์มาตั้งแต่โบราณ โดยใช้มุงหลังคา จนมีคำกล่าวติดปากว่า “หลังคามุงแฝก” ตับแฝกที่ใช้มุงหลังคาในสมัยดั้งเดิมนั้น จะใช้หญ้าแฝกนำมาเย็บเข้าเป็นเพื่อมุงหลังคา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ จึงได้มีหน่วยงานต่าง ๆ สนองพระราชดำริของพระองค์เพื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝก ทำให้เกิดการตื่นตัวกันทั่วประเทศ ในอันที่จะนำหญ้าแฝกที่มีแพร่กระจายอยู่ทั่วไป กลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง
โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาที่มาจากเรื่องน้ำทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และดินถล่ม ฉะนั้นจึงไม่ควรลืมหญ้าแฝกกับการนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้.

ขอบคุณ:http://www.dailynews.co.th

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ปลูกพืชปุ๋ยสดก่อนทำนาช่วยลดต้นทุนการผลิต

นายสุรเดช เตียวตระกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาวิจัยของกรมพัฒนาที่ดินในเรื่องระบบปลูกข้าวใหม่ ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรปลูกข้าวและให้พักดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืช ปุ๋ยสดคั่นนั้น พบว่า การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง โสนอัฟริกันแล้วทำการไถกลบ สามารถสร้างปุ๋ยให้กับดินเทียบเท่ากับปุ๋ยยูเรีย 26 กิโลกรัม/ไร่ หรือคิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่าไร่ละ 700 บาท และเมื่อเกษตรกรปลูกข้าวในรอบต่อไป นอกจากจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลงไม่ต่ำกว่า 25% แล้ว ยังช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้อีกด้วย ซึ่งขณะนี้กรมฯ ได้มุ่งเน้นเรื่องการปรับปรุงพันธุ์พืชปุ๋ยสด สำหรับส่งเสริมให้เกษตรกรได้นำไปใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน กรมฯ ยังมีการรับซื้อเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดจากเกษตรกร สำหรับนำไปขยายผลในการส่งเสริมการใช้พืชปุ๋ยสดในพื้นที่เกษตรทั่วประเทศต่อ ไป ดังนั้น เกษตรกรที่ปลูกพืชปุ๋ยสดไม่เพียงแต่สามารถฟื้นฟูคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับ ผืนดินของตนเอง ยังช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี อีกทั้งมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดได้อีกทางหนึ่ง.
ที่มา:http://www.dailynews.co.th

เลี้ยง ไก่ดำภูพานแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น - เกษตรทั่วไทย


เลี้ยง ไก่ดำภูพานแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น - เกษตรทั่วไทย


วันก่อนมีโอกาสเดินทางไป ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร เยี่ยมชมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ  รุ่นที่ 2 ครั้ง ที่ 3 ร่วมเรียนรู้พระราชกรณียกิจและพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรูปแบบการถ่ายทอดความรู้เชิงประจักษ์ สัมผัสเกษตรกร 5 บ้าน 5 วิถีชีวิตเยาวชนที่ร่วมกิจกรรมจะได้สัมผัสกับ รูปแบบเกษตรกรรม โดยมีปราชญ์ชาวบ้าน และวิทยากรจากศูนย์พัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ความรู้และร่วมกิจกรรม จัดโดยสำนักงาน กปร. ร่วมกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และกว่า 40 ชั่วโมงที่เยาวชนได้มีโอกาสอยู่กินและใช้ชีวิตกับเกษตรกรขยายผลของศูนย์ ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ซึ่งเยาวชนต่างให้ความสนใจกับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรเหล่านั้นเป็นอย่าง มาก ต่างสอบถามเพื่อเรียนรู้โดยที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อนำไปใช้เองที่บ้านของตน อย่างกรณีของการเพาะเลี้ยงไก่ดำภูพานดูจะได้รับความสนใจจากเยาวชนเหล่านี้ เป็นอย่างมาก ซึ่งก็มีเหตุผลหลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือ กำลังเป็นสินค้ายอดนิยมที่ทำราคาและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่นำมาเลี้ยง จนบางรายเริ่มพัฒนาเป็นการเพาะเลี้ยงเชิงธุรกิจ โดยการจำหน่ายพ่อแม่พันธุ์ที่มีราคาคู่ละกว่า  3,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของไก่ทั้งคู่
เกษตรกรรายหนึ่งได้กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงให้กับเยาวชน ฟังถึงกรรมวิธีทำให้ไก่ดำภูพานเจริญเติบโต แข็งแรง มีกำลังและเลี้ยงตัวรอดพร้อมทั้งสามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีให้ลูกดกได้ ซึ่งกรรมวิธีนี้เป็นการนำไก่ดำที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มาจากศูนย์ศึกษาการ พัฒนาภูพานฯ มาเลี้ยงแบบผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงไก่โดยใช้ไก่บ้านสาย พันธุ์ไทยเข้ามาเป็นตัวช่วย
เกษตรกรรายนี้เล่าว่า หากต้องการไก่ดำเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์และเพื่อจำหน่ายให้ได้ราคาและไก่มี น้ำหนักดี ต้านทานโรคและป้องกันตัวเองเก่ง ก็ให้แม่ไก่สายพันธุ์พื้นเมืองเป็นผู้เลี้ยงลูกไก่ตั้งแต่เริ่มออกจากไข่  ถึงตรงนี้เยาวชนบางรายอดสงสัยไม่ได้ว่าจะทำอย่างไรในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้ ตามที่ต้องการเช่นนี้ ก็ได้รับคำตอบว่า เมื่อถึงช่วงที่แม่ไก่ ซึ่งเป็นแม่ไก่ของทั้งไก่ดำภูพานและแม่ไก่สายพันธุ์ุพื้นเมืองหรือที่รู้จัก กันในนามของไก่บ้าน ขณะที่วางไข่ ให้คอยสังเกตเมื่อแม่ไก่ออกไข่แล้วซึ่งจะบินออกจากรัง ให้เอาไข่มาสลับรังกัน ทำอย่างนี้ทุกวันในระหว่างที่แม่ไก่ทั้งสองออกไข่ จนเมื่อแม่ไก่ทั้งสองเลิกออกไข่และทำการฟักไข่ ช่วงนั้นก็ให้เอาไข่ของแม่ไก่สายพันธุ์พื้นบ้านที่อยู่ในรังของแม่ไก่ดำภู พานออกมาทั้งหมด นำไปบริโภคถ้ามากก็ขายทำเงินเข้าครอบครัว เมื่อแม่ไก่ดำไม่มีไข่ในรังก็จะออกไปรวมฝูงกับตัวผู้เกิดการผสมพันธุ์ ซึ่งไม่นานก็จะกลับเข้ามาวางไข่อีก ขณะที่แม่ไก่พันธุ์พื้นเมืองก็ทำหน้าที่ฟักไข่จนออกมาเป็นตัว ซึ่งก็คือลูกไก่ดำภูพานทั้งหมด
โดยพื้นฐานแม่ไก่พื้นบ้านจะเลี้ยงลูกไก่เหล่านั้นเป็นอย่างดี และจากความสามารถพิเศษของแม่ไก่พื้นบ้าน อาทิ การเฝ้าดูแลลูกไก่ไม่ให้ไก่ตัวอื่น หรือสัตว์อื่นทำร้ายจะเก่ง เพราะแม่ไก่พันธุ์พื้นบ้านช่วงนี้จะดุ แถมคุ้ยเขี่ยหาอาหารให้ลูกเก่งและออกไปไกลจากบริเวณที่เลี้ยง เหล่านี้ก็จะทำให้ลูกไก่ดำมีความแข็งแรง เพราะมีกินมาก วิ่งตามแม่ไก่ไปไกล ๆ ได้ออกกำลังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ที่สำคัญในการเฝ้าระวังภัยจากสัตว์ที่ชอบกินลูกไก่หรือทำร้ายลูกไก่ จะไม่ค่อยมีโอกาสเกิดขึ้นเพราะแม่ไก่พันธุ์พื้นบ้านมีความสามารถสูงในการ เตือนภัยและหาที่หลบซ่อน  เหล่านี้จึงทำให้ไก่ดำที่ออกมามีคุณภาพและอัตราการรอดสูง แถมกล้ามเนื้อแข็งแรงตรงตามความต้องการของตลาด  เยาวชนที่รับทราบข้อมูลเหล่านี้หลายรายบอกว่ากลับไปบ้านจะเอาไก่ดำภูพานมา เลี้ยงแบบผสมผสานกับไก่พื้นพื้นบ้านดังที่เกษตรกรรายนี้ถ่ายถอดประสบการณ์ ให้ฟัง
ไก่ดำภูพาน เป็นสายพันธุ์หนึ่งของไก่ดำ ปรับปรุงพันธุ์จากไก่ดำจากประเทศจีน และจดสิทธิบัตรที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และขึ้นทะเบียนพันธุ์สัตว์กับกรมปศุสัตว์ โดย นายสัตวแพทย์วิศุทธิ์ เอื้อกิ่งเพชร หัวหน้างานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บ้านนานกเค้า ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร ไก่ดำภูพาน เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความต้องการในตลาดประเทศจีนที่มีความเชื่อในสรรพคุณ ทางยาของไก่ดำ ซึ่งมีองค์ประกอบ ขนดำ หนังดำ เล็บดำ เนื้อเทาดำ และกระดูกก็สีเทาดำ.
ที่มา:http://www.dailynews.co.th

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เห็ดฟางในตะกร้า


เห็ด ฟางในตะกร้า

 

การเพาะเห็ดในตะกร้าสามารถทำได้ด้วยตนเองสำหรับผู้ที่สนใจ จะทำเพื่อบริโภคภายในครัวเรือนหรือเพื่อเชิงพาณิชย์ก็ทำได้ไม่ยาก ตลาดในปัจจุบันก็ยังสดใสอยู่ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร ได้มีการศึกษาวิจัยวิธีการประกอบอาชีพเพื่อขยายผลสู่การปฏิบัติใช้ของ เกษตรกรโดยทั่วไป ในแต่ละปีมีหลากหลายกิจกรรมด้วยกันหนึ่งในนั้นและกำลังได้รับความนิยมในขณะ นี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
การแนะนำเกษตรกรจะเริ่มกันที่วัสดุอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย ตะกร้าเห็ด หรือตะกร้าที่มีรูด้านใหญ่  เชื้อเห็ดฟางอายุ 15 วัน อาหารเสริม ใช้มูลสัตว์ เช่น วัว ควาย อัตรา 1:1 4 พลาสติกใส วิธีการเพาะ แช่ฟางหรือวัสดุที่ใช้เพาะให้อิ่มตัว หมักกองทิ้งไว้ 1 คืนหรือ 10-12 ชั่วโมง นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะมาใส่ในตะกร้าหนา 10 ซม. แล้วกดให้แน่น โรยอาหารเสริมให้ชิดขอบด้านในของตะกร้าแล้วโรยเชื้อทับบาง ๆ  นำฟางข้าวหรือวัสดุเพาะมาใส่ในตะกร้าเหมือนชั้นที่ 1 โรยอาหารเสริมและโรยเชื้อทับ ทำการเพาะ 3–4ชั้นต่อตะกร้า  เมื่อเพาะเสร็จแล้วให้รดน้ำให้ทั่วตะกร้าคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ประมาณ 12-15 วัน ก็จะเก็บดอกได้
เห็ดฟางเรียกอีกอย่างว่า เห็ดบัว เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นในเขตร้อนจะเติบโตได้ในที่มีกองปุ๋ยทิ้งไว้นาน หรือกองฟางเก่าที่มีอินทรียวัตถุมากกองเศษไม้เศษหญ้า สปอร์จะงอกเป็นใยอ่อนในอุณหภูมิ 40 องศา
ลักษณะของเห็ดฟางครีบหรือซี่หมวกจะอยู่ด้านหลังของหมวกเห็ดจะเรียงกัน เป็นรัศมี ครีบหมวกจะเป็นตัวเกิดของสปอร์ ก้านดอกจะมีขนาดยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร ส่วนบนจะติดกับดอกเห็ด ส่วนก้านดอกจะมีฟางปกคลุมไว้คล้ายถ้วยรอง เปลือกหุ้มเมื่อดอกมันตูมมันจะมีเปลือกหุ้ม แต่โตขึ้นเปลือกหุ้มจะปริออก เพื่อให้หมวกก้านดอกสูงขึ้นและทิ้งเปลือกหุ้มแต่ส่วนใหญ่เป็นสีขาว สปอร์อยู่บริเวณด้านล่างของดอกเห็ดเมื่อแก่ได้ที่จะปลิวออกไปในอากาศไปตกใน สภาพแวดล้อมที่มีความชื้น
เส้นใยเห็ดมี 3 ขั้นตอนคือ 1 เส้นใยขั้นต้นเป็นเส้นที่พนังกั้นเป็นช่อง จะกลายเป็นใย ขั้นที่ 2 และเส้นใยขั้นที่ 3 เมื่อขั้นที่ 2 เจริญเต็มที่จะกลายเป็นฮอร์โมนกระตุ้นเส้นใยต่อไป และกลายไปเป็นเห็ดได้ดูแลให้ดีก็จะเก็บดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิตโดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง
การตรวจดูความร้อนในตะกร้าเพาะเห็ด โดยปกติจะรักษาอุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนในกองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้โดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้าวัสดุในตะกร้าแห้งไปจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาวเล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ดถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย
ศัตรูของเห็ดฟางจะประกอบด้วย แมลง จำพวก มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบ ๆ พื้นที่ตั้งตะกร้า ห่างประมาณ 1 ศอกอย่าโรยในตะกร้าทำประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำตะกร้ามาวาง เพราะจะมีผลต่อการออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในพื้นที่เพาะเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน  เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่ไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค อื่น ๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆ
วิธีแก้คือการเก็บฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลพื้นที่วางตะกร้า และเมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางวัสดุที่ใช้เพื่อเพาะเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป.

  ที่มา:http://www.dailynews.co.th

การปลูกยางพาราตอนที่ 8

ระยะเวลาและอัตรา การใส่ปุ๋ย

ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือน จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้อง การของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุ  
เกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางที่5 และ6  
ตารางที่ 5 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก



อายุ
ต้นยาง
(เดือน)

จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กรัมต่อต้น)

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

สูตร 1 (ดินร่วน)
และ
สูตร 3 (ดินทราย)

สูตร 2 (ดินร่วน)
และ
สูตร 4 (ดินทราย)

ปุ๋ยผสม
2 60 130 ใส่ รอบต้นรัศมี 30 เซนติเมตร
4 60 130 ใส่ รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
6 90 200 ใส่ รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
11 120 260 ใส่ รอบต้นรัศมี 50 เซนติเมตร
14 120 260 ใส่ รอบต้นรัศมี 60 เซนติเมตร
17 120 260 ใส่เป็นแถบในแถวยาง ห่าง  
จากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
23 190 400
29 190 400
35 190 400
41 190 400
47 250 530
53 250 530
59 250 530
65 250 530 ใส่เป็นแถบกว้าง 2.5 เมตร  
ห่างจากโคนต้นยางข้างละ  
อย่างน้อย 50 เซนติเมตร
71 250 530
77 250 530
83 250 530


ตารางที่ 6 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  


อายุต้นยางหรือเดือนที่ใส่ปุ๋ย

สูตรปุ๋ยที่ใช้กับชนิดของดิน

อัตราปุ๋ย (กรัมต่อต้น)

ดินร่วน

ดินทราย

ปุ๋ยเม็ด

ปุ๋ยผสม
1 เดือนหลังปลูก
ปุ๋ยเม็ด
18-10-6
หรือปุ๋ยผสม
8-14-3

ปุ๋ยเม็ด
16-8-14
หรือปุ๋ยผสม
8-13-7
45 100
4 เดือน (ต.ค.) 70 150
11 เดือน (พ.ค.) 90 200
16 เดือน (ต.ค.) 90 200
23 เดือน (พ.ค.) 135 300
28 เดือน (ต.ค.) 135 300
35 เดือน (พ.ค.) 135 300
40 เดือน (ต.ค.) 135 300
47 เดือน (พ.ค.)
ปุ๋ยเม็ด
18-4-5
หรือปุ๋ยผสม
13-9-4

ปุ๋ยเม็ด
14-4-9
หรือปุ๋ยผสม
11-10-7
190 400
52 เดือน (ต.ค.) 190 400
59 เดือน (พ.ค.) 190 400
64 เดือน (ต.ค.) 190 400
71 เดือน (พ.ค.) 190 400
76 เดือน (ต.ค.) 190 400


หมายเหตุ เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยน แปลงไป   ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยาง 
ผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม  
ดังแสดงไว้ในตารางที่ 7  
ตารางที่ 7 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว  



เวลาที่ใส่ปุ๋ย
สำหรับยางที่
เปิดกรีดแล้ว

ชนิดของปุ๋ย

จำนวนปุ๋ยที่ใส่
(กรัมต่อต้น)

บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
ปุ๋ย เม็ด ปุ๋ย ผสม
ครั้ง ที่ 1
-ใส่ต้นฤดูฝนประมาณ 
เดือนพฤษภาคม
ปุ๋ยผสมสูตร 5 -   500  
500
500   600  
-
ใส่ทั่วแปลงยาง โดยหว่านให้ห่างจาก 
แถวยางประมาณ 1 เมตร
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6 
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ
ครั้ง ที่ 2
-ใส่ปลายฤดูฝนประมาณ 
เดือนกันยายน  
ถึงเดือนตุลาคม
ปุ๋ย ผสมสูตร 5 - 500 ใส่ทั่วแปลงยางโดยหว่านให้ให้ห่างจาก 
แถวยางประมาณ 1 เมตร
ปุ๋ย เม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6 500 600
ปุ๋ย เม็ดอื่นๆ 500 -


หมายเหตุ ยางแก่ก่อนโค่น 3-5 ปี ควรงดใส่ปุ๋ย

การปลูกยางพาราตอนที่ 7

ระยะปลูก



ระยะปลูก  
1. พื้นที่ราบ  
ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง  
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่  
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่  
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง  
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่  
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่  
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา   
ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร  
เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อ ไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม 
วิธีปลูก



การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าว เฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้ จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน 1. การปลูกด้วยต้นตอตา   
นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็ม ด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลาง หลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี  
2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง  
2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้   
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก  
2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดิน เดิมก้นหลุมจัดต ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุม ดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

การปลูกยางพาราตอนที่ 6

โรคและแมลงศัตรู ยางพารา


1. โรครากขาว 
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่ 
ลักษณะอาการ 
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่ คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้น ดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดง ชัดเจน 
การป้องกันและรักษา 
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด 
โรครากขาวได้ 
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง 
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป 
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย 



2. โรคเส้นดำ 
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น 
ลักษณะอาการ 
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้ 
การป้องกัน 
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น 
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้ 
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา 
การรักษา  
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ  ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไป อีกจนกว่าโรคนี้จะหาย 


3. โรคเปลือกเน่า  
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้ 
ลักษณะอาการ 
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมี เส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ 
การป้องกัน  
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวน ยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง 
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น 


4. โรคเปลือกแห้ง  
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้ง ตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย 
ลักษณะอาการ  
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา 
การป้องกันและรักษา  
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็น โรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ 
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ย ถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก 



5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า  
ลักษณะอาการ  
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะ ติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย 
การป้องกันและรักษา   
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้า กรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น 


6. ปลวก  
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู 
การป้องกันและรักษา  
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง 


7.   หนอนทราย  
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้  สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบ ตัวหนอนทราย 


8. โคนต้นไหม้  
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย 
การป้องกันและรักษา  
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล 


9. อาการตายจากยอด  
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี 
ลักษณะอาการ  
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน 
การป้องกันและรักษา  
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตาย จากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด